3 เรื่องที่เจ้าของควรรู้ก่อนจ้างงานก่อสร้าง

Last updated: 23 มิ.ย. 2566  |  295 จำนวนผู้เข้าชม  | 

3 ways to delivery project method


วิธีการดำเนินโครงการก่อสร้างนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
1) จ้างออกแบบแยก ประกวดราคางานก่อสร้างตามแบบ เพื่อหาผู้รับเหมาหลัก (Design Bid Build)
2) จ้างเหมาก่อสร้างรวมงานออกแบบ (Design Build)
3) ผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของโครงการจัดจ้างผู้รับเหมารายย่อยเพื่อทำการก่อสร้าง (Construction Management)

วิธีการทั้ง 3 ประเภทนี้มีความต่างในเรื่องของขั้นตอนการดำเนินงานตลอดจนประเภทผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ และทำให้แต่ละวิธีมีความเหมาะสมกับโครงการที่มีลักษณะแตกต่างกันด้วย หากเจ้าของโครงการ (ในที่นี้คือรัฐบาล) เลือกวิธีการดำเนินโครงการที่ถูกต้องเหมาะสมกับโครงการแต่ละวิธีแล้วก็จะทำให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(1) วิธีดั้งเดิม (Traditional Approach)

วิธีดั้งเดิมในบางครั้งถูกเรียกว่าวิธี Design-Bid-Build คือวิธีที่เจ้าของโครงการจัดจ้างผู้ออกแบบและผู้รับเหมาแยกกัน กล่าวคือเจ้าของโครงการจะจ้างผู้ออกแบบเพื่อออกแบบโครงการให้แล้วเสร็จก่อน (Design) แล้วจึงดำเนินการประกวดราคาเพื่อจัดซื้อจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง (Bid) จากนั้นผู้รับเหมาก่อสร้างที่ชนะการประกวดราคาก็จะต้องก่อสร้างโครงการตามแบบที่ผู้ออกแบบได้จัดทำไว้ (Build) ซึ่งประเด็นสำคัญของวิธีการนี้คือการแยกผู้ออกแบบและผู้รับเหมาก่อสร้างออกจากกันและให้แยกรับผิดชอบงานกันคนละขั้นตอน โครงการลงทุนขนาดใหญ่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทุกคนคุ้นเคย เข้าใจ และมีประสบการณ์มาก

(2) วิธีออกแบบรวมก่อสร้าง (Design & Build Approach)

วิธีออกแบบรวมก่อสร้างนี้เป็นวิธีการที่เจ้าของโครงการรวมเอาการออกแบบและการก่อสร้างไว้ที่ผู้รับเหมารายเดียวกันในลักษณะ One-Stop Service คือจ้างครั้งเดียวเบ็ดเสร็จทุกขั้นตอน ผู้รับเหมาที่ได้งานก็จะมีหน้าที่ตั้งแต่การออกแบบโครงการทั้งหมดตลอดจนการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ประเด็นสำคัญของวิธีออกแบบรวมก่อสร้างนี้คือการรวมผู้ออกแบบและผู้รับเหมาไว้เป็นฝ่ายเดียวกัน

ในบางกรณีผู้รับเหมายังมีหน้าที่ต้องหาแหล่งเงินกู้สำหรับการก่อสร้างให้กับเจ้าของโครงการด้วย ซึ่งในลักษณะเช่นนี้มักจะถูกเรียกว่าวิธีเทิร์นคีย์ (Turnkey) กล่าวคือเจ้าของไม่ต้องดำเนินการใดๆทั้งสิ้นเพียงแต่รอเวลารับกุญแจเพื่อเปิดใช้โครงการเท่านั้น (แต่ต้องผ่อนจ่ายคืนเงินค่าก่อสร้างภายหลังจากที่ผู้รับเหมาส่งมอบโครงการเรียบร้อยแล้ว) โครงการภาครัฐที่เคยใช้วิธีเทิร์นคีย์ได้แก่โครงการทางด่วนบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และเมื่อเร็วๆนี้ก็มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายต่างๆของ องค์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าจะใช้วิธีเทิร์นคีย์ดีหรือไม่เนื่องจากแหล่งเงินกู้ที่ผู้รับเหมาหามาได้มักจะมีต้นทุนทางการเงิน (ดอกเบี้ย) สูงกว่าแหล่งเงินกู้ที่ภาครัฐสามารถหาได้ ซึ่งในภายหลังเข้าใจว่าโครงการดังกล่าวนี้จะไม่ใช้วิธีเทิร์นคีย์แต่จะยังเปิดช่องให้ผู้รับเหมาที่เข้าร่วมประกวดราคาเสนอแหล่งเงินกู้มาด้วยและหากแหล่งเงินกู้ที่ผู้รับเหมาเสนอมานั้นมีต้นทุนทางการเงินต่ำกว่าแหล่งเงินกู้ของรัฐบาล ก็อาจพิจารณาใช้แหล่งเงินกู้ที่ผู้รับเหมากเสนอมานั้นได้ ซึ่งก็จะกลายเป็นวิธีเทิร์นคีย์ไปโดยปริยาย

(3) วิธีบริหารการก่อสร้าง (Construction Management Approach)

วิธีบริหารการก่อสร้างคือวิธีที่เจ้าของโครงการแยกเนื้องานก่อสร้างออกเป็นงานย่อยๆตามประเภทของงาน เช่น งานฐานราก งานโครงสร้าง งานระบบไฟฟ้าเครื่องกล งานสถาปัตยกรรม เป็นต้น โดยเจ้าของโครงการจะจัดจ้างผู้รับเหมางานต่างๆแยกกันโดยไม่มีการจ้างผู้รับเหมาหลัก (Main Contractor) รายใดรายหนึ่งเช่นเดียวกับวิธีดั้งเดิมหรือวิธีออกแบบรวมก่อสร้าง ดังนั้นในโครงการหนึ่งเจ้าของโครงการต้องทำสัญญากับผู้รับเหมาต่างๆหลายสัญญา ในบางโครงการอาจจะมีกว่า 10 สัญญา และเจ้าของโครงการจะจ้างผู้บริหารการก่อสร้าง (Construction Manager) เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการซึ่งเน้นการประสานงานระหว่างผู้รับเหมาย่อยๆเหล่านี้ โดยผู้บริหารการก่อสร้างนี้อาจจะได้รับค่าตอบแทนในลักษณะเหมารวมคล้ายการจ้างที่ปรึกษา หรืออาจจะมีการสร้างแรงจูงใจการทำงานให้กับผู้บริหารการก่อสร้างโดยการเพิ่มค่าตอบแทนให้ในกรณีที่สามารถช่วยประหยัดค่าก่อสร้างลงได้ต่ำกว่าเป้าหมาย

โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำพวกคอนโดมิเนียม อาคารขนาดใหญ่เริ่มใช้วิธีนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้บริษัทจะต้องมีทีมบริหารโครงการที่เข้มแข็ง มีปนะสิทธิภาพ มิฉะนั้นจะไม่สามารถจัดการโครงการได้ เพราะจะมีงานเอกสาร มีสัญญา มีผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก


“ควรเลือกใช้วิธีใด”
วิธีการด าเนินโครงการทุกวิธีการมีข้อดีข้อเสียท่ีแตกต่างกันไป ดังนั้นการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้วิธี ใดในการด าเนินโครงการนั้นก็ข้ึนอยู่กับว่าโครงการนั้นๆมีลักษณะเช่นใด และอะไรคือเป้าหมาย ส าคัญของการด าเนินโครงการ
หากโครงการมีข้อจ ากัดส าคัญท่ีจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามก าหนดโดยไม่สามารถยืดเวลาได้ หรือต้องด าเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาท่ีสั้นกว่าปกติ ซ่ึงหมายถึงว่าเป้าหมายท่ี ส าคัญท่ีสุดของโครงการนี้คือท างานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาท่ีก าหนด โครงการนี้ก็ควรจะใช้ วิธีออกแบบรวมก่อสร้าง (Design & Build) เนื่องจากวิธีการนี้มีข้อดีในเร่ืองการย่นระยะเวลา โครงการได้
หากโครงการมีเป้าหมายส าคัญท่ีจะต้องควบคุมคุณภาพหรือรูปแบบของโครงการอย่างระมัดระวัง เช่น โครงการท่ีมีความเส่ียงท่ีจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพ้ืนท่ีอย่างรุนแรงซ่ึงรัฐบาล จะต้องควบคุมโครงการให้อยู่ในรูปแบบท่ีก่อให้เกิดผลกระทบดังกล่าวน้อยท่ีสุด โครงการนั้นก็ควร จะใช้วิธีดั้งเดิมเนื่องจากหน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถพิจารณารายละเอียดการออกแบบของ โครงการอย่างรอบคอบแล้วจึงเริ่มการก่อสร้าง

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก

https://cve414.files.wordpress.com/2011/08/project-delivery-system.pdf

https://www.slleonard.com/owners-guide-to-project-delivery-methods/

https://www.fgmarchitects.com/post/pros-cons-of-design-bid-build-vs-construction-manager-at-risk-vs-design-build

 https://www.asd-usa.com/blog/design-build-vs-design-bid-build/


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้